ประวัติความเป็นมาของระนาดเอก


ประวัติความเป็นมาของระนาดเอก
 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีประวัติความ เป็นมาเก่าแก่ยาวนานมากดังหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบระนาดหินซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของ ระนาดไม้ ในยุคปัจจุบันระนาดหินนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีต้นกำเนิดมา
นานแล้ว ระนาดหินดังกล่าวมีอายุเก่าประมาณ
3000 ปีมีลักษณะเป็น ขวานหินยาว พบที่แหล่งโบราณคดีริมฝั่งคลองกลาย หมู่ที่ 7 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

ขวานหินยาวนั้นเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ นำหินมากระเทาะให้เป็นแผ่นยาวหรือเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งแต่งให้เป็นสันหนา ส่วนปลายอีกด้านจะแต่งให้บางลงจนเกิดความคมซึ่งเป็นลักษณะของขวานหินทั่วไปแต่มีลักษณะยาวกว่าจึงเรียกว่าขวานหิน
ยาวขวานหินยาวบางชิ้นทำจาก
 หินภูเขาไฟซึ่งมีส่วนผสมของแร่โลหะเวลาเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน และมีระดับเสียง สูงต่ำแตกต่างกันตาม
ขนาดความยาวหรือความหนาบางของขวานหิน ด้วยเหตุนี้นัก
 โบราณคดีจึงเรียกขวานหินยาวว่าระนาดหิน นอกจากนั้นยังได้พบระนาดหินที่ประเทศ เวียตนามจำนวน 11 ชิ้น เมื่อผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซียได้ วิเคราะห์ความถี่ของเสียงระนาดหินจำนวน 10 ชิ้น ปรากฏว่ามีระนาดหินจำนวน 5 ชิ้น มีความถี่ของเสียงเท่ากับความถี่ของเสียงดนตรี5 เสียงซึ่งเป็นระดับเสียงของเครื่องดน ตรีโบราณที่ใช้กันอยู่ใน
ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน
 จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่ากำเนิดของ ระนาดหินอาจเกิดจากการที่มนุษย์นำขวานหินธรรมดาซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานหรือเป็น อาวุธมาใช้และได้ยินเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องมือดังกล่าวเป็นเสียงดนตรี ที่ไพเราะน่าฟังจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดจินตนาการในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้น
          สำหรับระนาดไม้นั้นน่าจะมีพัฒนาการมาจาก กรับ หรือ โกร่ง ซึ่งตามปกติใช้ ตีเพียง 2 ชิ้น แต่ได้มีการนำเอากรับซึ่งเป็นท่อนไม้สั้นๆ
จำนวนหลายชิ้นมาวางเรียงกัน
 แล้วใช้ไม้ตีลงไป ทำให้เกิดทำนองสูงต่ำแตกต่างกันตามขนาดความ สั้น-ยาว และ ความ หนา-บาง ของวัตถุดังเช่นเครื่องดนตรีของชาวอินโดนีเซียหรือชาวพื้นเมืองในประเทศ อาฟริกา
 การนำเอาไม้กรับหลายๆอันมาวางเรียงตีนั้นน่าจะเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภท โปงลาง และ ระนาดเอก ในปัจจุบันโดยจะเห็น
ได้จากเครื่องดนตรีของคนที่อยู่ในภูมิภาคแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และร่องรอยการพัฒนาการของระนาดในภูมิภาค
อื่นๆของโลกอีกหลายแห่งซึ่งก็มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างและลักษณะ คล้ายคลึงกัน เมื่อมีการนำไม้กรับขนาดต่างๆมาวางเรียงและ
ใช้ไม้เคาะเพื่อให้เกิดเสียงที่ต่าง
 กันแล้วจึงมีการคิดไม้รองเป็นรางเพื่อวางไม้กรับเรียงต่อๆกันไป รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้นคือแก้ไขปรับปรุงไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกันโดยเรียงลำดับ ตามความสูงต่ำของเสียงและทำรางรองไม้กรับให้มีลักษณะเป็น กล่องเสียง เพื่อให้ดัง กังวานยิ่งขึ้นเรียกว่า รางระนาด แล้วใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่า ผืนระนาด ขึงแขวนไว้เหนือรางระนาด ต่อมาจึง
ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งไม้กรับ
 ให้มีรูปร่างประณีตสวยงามและเรียกไม้กรับเหล่านี้เสียใหม่ว่า ลูกระนาด ทั้งยังได้พัฒนา วิธีการปรับแต่งระดับเสียงของไม้กรับโดยใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่ว แล้วลนไฟติดไว้ตรงบริเวณด้านล่างตรงส่วนหัว และส่วนท้ายของลูกระนาดเพื่อให้เกิดเสียงที่ลึกนุ่มนวลขึ้นเป็น
การ
 เทียบเสียงลูกระนาดเพื่อให้ได้ระดับเสียงตรงตามที่ต้องการด้วย
สรุปว่าลูกระนาดนั้นพัฒนาขึ้นมาจากไม้กรับประเภทต่างๆ ดังนั้นในหัวข้อนี้จึง ขอกล่าวถึงกรับประเภทต่างๆไว้ด้วยดังนี้
ส่วนประกอบของระนาดเอก

         ลักษณะงานดนตรีหรืองานดุริยางคศิลป์นั้นเป็นงานสาขาหนึ่งในงานศิลปะบริสุทธิ์ จะเห็นได้ว่างานดนตรีกับงานศิลปะนั้นมีความสัมพันธ์และ
อาศัยซึ่งกันและกัน มีพื้นฐานในด้านความคิดที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน และกล่อมเกลาจิตใจคนให้มีความอ่อนโยนขึ้น



         ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับดนตรีดูได้จากการออกแบบสร้างเครื่องดนตรี โดยทั่วไปนักดนตรีมักจะเลือกซื้อเครื่องดนตรีชิ้นที่ตนเองชอบ และเลืก
เครื่องดนตรีที่มีเสียงดีไว้ก่อน เมื่อได้เครื่องดนตรีที่มีเสียงดีตามต้องการแล้วจึงจะดูลักษณะเครื่องดนตรีว่าสวยงามหรือไม่ รูปร่างหรือส่วนสัดของ
เครื่องดนตรีมีความสวยงามเหมาะสมเพียงใด ดังนั้นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิดจะมีการประดับด้วยวัสดุที่งดงามและออกแบบลวดลายให้เกิดความ
สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น