การฝึกไล่ระนาดเอก

การฝึกไล่ระนาดเอก

          คำว่า "ไล่ระนาด" เป็นศัพท์ที่นิยมใช้เรียกกันในหมู่ผู้ที่ฝึกตีระนาดเอก หมายถึงการฝึกตีระนาดด้วยทำนองเพลงต่างๆให้คล่องมือ ช่วงเวลาที่จะฝึกไล่ระนาดมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาฝีมือ ดังนั้นผู้ฝึกตีระนาดเอกควรให้ความสนใจ มีความเอาใจใส่ และมีความมานะอดทนในการฝึกฝนให้มากเป็นพิเศษ ช่วงเวลาไล่ระนาดที่ควรทำเป็นกิจวัตรประจำวันมี 4 ช่วงคือ เช้า กลางวัน เย็น และ ค่ำ แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด และมีผลทำให้ฝีมือพัฒนาขึ้นมากที่สุดคือเวลาเช้ามืด เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ได้ผ่านการพักผ่อนหลับนอนมาใหม่ๆ ผู้ฝึกจะมีความสดชื่นมากที่สุดเมื่อฝึกไล่ระนาดแล้วจะจำเพลงได้แม่น และสามารถบรรเลงระนาดเอกได้ "ไหว" เป็นพิเศษ (คำว่า ไหว เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกผู้ที่สามารถบรรเลงระนาดเอกได้รวดเร็ว และเสียงชัดเจนไม่มีการสะดุดหรือเสียจังหวะ)
          การไล่ระนาดเวลาเช้าควรเริ่มไล่ตั้งแต่เวลาประมาณ 04.00 - 07.00 น. เพราะเวลาเช้ามืดเป็นเวลาที่ร่างกายเพิ่งผ่านการพักผ่อนมาแล้ว
อย่างเพียงพอ อวัยวะทุกส่วนมีความสดชื่นและหวนกลับมามีประสิทธิภาพใหม่ เมื่อเริ่มใช้งานจะทำให้กำลังภายในและกำลังภายนอกของร่างกายพร้อมที่จะรับและปรับตัว อีกประการหนึ่งเวลาเช้ามืดเป็นเวลาที่เงียบสงัดอากาศและอุณหภูมิกำลังดีทำให้สมองปลอดโปร่งและมีสมาธิดี
          เพลงที่นิยมใช้สำหรับฝึกไล่ระนาดเอกได้แก่ เพลงทะแย 3 ชั้น และ เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว เพลงทะแยเป็นเพลงที่เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกระนาด เนื่องจากสำนวนเพลงเป็นทางกลอนที่เรียบเป็นการฝึกการตีให้เสียงทั้งสองมือดังเสมอกัน ส่วนเพลง "มุล่ง" (บางทีเรียกบุล่ง) ท่วงทำ
นองเพลงค่อนข้างเป็นกลอนที่ต่อเนื่องเสียงไม่กระโดดข้ามขั้นคู่เสียงจนเกินไป เป็นเพลงที่มีรูปแบบสำนวนเพลงครบตามลักษณะของเพลงที่ดี
และ เป็นพื้นฐานของการดำเนินกลอนระนาดในเพลงเถาแต่ผู้ที่ฝึกไล่โดยใช้เพลงมุล่งนั้นควรฝึกเพลงทะแยมาก่อน
          ผืนระนาดที่ใช้ฝึกไล่ควรเป็นผืนไม้ไผ่ตง(นักดนตรีเรียกไผ่บง) เพราะมีความหนืดและ "ดูดไหล่" (หมายถึงกินแรงที่ไหล่) มากกว่าไม้
ชิงชันและไม้ชนิดอื่น การที่ไล่ระนาดด้วยผืนไม้ไผ่บง เพราะต้องการต่อสู้กับความหนืดของผืนระนาด เป็นการเก็บกำลังจากความหนืดของผืนมา
เป็นทุนในการบรรเลงครั้งต่อๆไป ลักษณะของผืนระนาดเอกที่ใช้ไล่ต้องเสียงไม่เพี้ยนคือมีระดับเสียงเป็นปกติทั้ง 21 ลูก ลูกระนาดมีผิวโค้งนูนโต การไล่ระนาดด้วยผืนไม้ไผ่บงถ้าตีโดยลงมือซ้าย-ขวาไม่พร้อมกันหรือน้ำหนักไม่เท่ากันก็จะทำให้ผืนระนาดแกว่งหรือที่เรียกว่า "กระพือ" เป็น
การตรวจสอบการฝึกหัดหรือการไล่ระนาดเอกได้เป็นอย่างดีว่าถ้าตีคู่แปดไม่ได้เสียงเสมอกันแล้วผืนระนาดจะแกว่ง
          สำหรับไม้ที่ใช้ตีไล่ระนาดเอกควรเป็นไม้ที่มีน้ำหนักมากกว่าไม้ที่ใช้บรรเลงในเวลาจริง (ไม้แข็ง) หรือมีน้ำหนักกว่าสามบาทขึ้นไปทั้งนี้เพื่อเสริมกำลังข้อมือให้แข็งแกร่งมากขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้ไม้ไล่ระนาด

          1.ไม้ที่ใช้ไล่ระนาดจะต้องมีน้ำหนักเหมาะสมกับกำลังข้อมือ 
          2.ไม้ที่ใช้ไล่ระนาดจะต้องเหมาะสมกับการบรรเลง (สามารถควบคุมการตีได้) 
          3. น้ำหนักและขนาดของไม้ต้องสัมพันธ์กับร่างกายของผู้บรรเลงและผืนระนาด

ประโยชน์ของไม้สำหรับไล่ระนาด

          1. ทำให้น้ำหนักมือทั้งสองข้างเท่ากัน ซึ่งมีผลให้เสียงดังเสมอกัน 
          2. ทำให้ข้อมือมีกำลังแข็งแรงและมีความคงทน 
          3. เวลาตีไม้ธรรมดา (ปกติ) ทำให้เบาแรงและคล่องตัวมากขึ้น

การไล่ระนาดด้วยไม้หนัก

          การไล่ระนาดด้วยไม้หนักจะทำให้เกิดกำลังและความอดทน วิธีไล่ใช้ผ้าห่มที่มี ความหนาวางบนผืนระนาดเพื่อให้เกิดการหนืดและดูดไหล่ เวลาตีใช้กำลังตีอย่างเต็มที่ 
          วิธีการไล่ เริ่มจากการ ตีฉาก เพื่อให้มือทั้งสองข้างลงเท่ากันแล้วจึงไล่เพลง ขณะ ไล่พยายามตีให้ปลายไม้ในมือทั้งสองข้างกระทบลง
บนผิวลูกระนาดพร้อมกัน ความเร็ว ของการไล่ระนาดไม่ควรช้าเกินไปหรือเร็วจนควบคุมไม่ได้ แนวเพลงในการไล่ไม้หนัก ไม่จำเป็นต้องเร่งให้เร็วขึ้น เมื่อเริ่มตีในระยะแรกควรตั้งความเร็วไว้ในแนวปานกลาง แล้ว ยืนแนว ที่ตั้งไว้ (คำว่า ยืนแนว หมายถึงรักษาความเร็วในการบรรเลงให้คงที่) 
เมื่อ ใกล้จะจบเพลงจึงตีให้แนวเร็วขึ้นเหมือนตีด้วยไม้เบา การตีให้เร็วนั้นต้องสามารถควบ คุมได้เพราะถ้าควบคุมไม่ได้จะทำให้มือเสียสมดุล ขณะตีด้วยความเร็วให้ใช้น้ำหนักเต็ม ที่แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ให้หยุดตีหยุดไล่เพลงแล้วกลับมาตีฉากใหม่เพื่อให้การลงมือเท่ากัน ควรใช้ระยะเวลาในการไล่ระนาดครั้งละประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง

การไล่ระนาดด้วยไม้เบ

          ใช้ผ้าคลุมผืนระนาดเอกให้บางประมาณครึ่งหนึ่งของการไล่ไม้หนัก น้ำหนัก ของไม้ตีให้หนักประมาณสิบสลึงซึ่งเท่ากับไม้แข็งหรือหนัก
กว่าเล็กน้อย 
          วิธีการไล่เมื่อขึ้นเพลงแล้วให้ตั้งแนวเพลงค่อนข้างเร็วและพยายามให้แนวเพลง เร็วขึ้นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะควบคุมมือได้หรือไม่ได้ ขณะที่ตีเร็วผู้ตีควรควบคุมให้สุด กำลัง วิธีการตีใช้กล้ามเนื้อแขนสลับกับการใช้ข้อมือโดยใช้วิธีการจับไม้หลายแบบสลับ กันไปในระหว่างการไล่ เมื่อ
ใกล้จะจบเพลงควรตีให้เร็วที่สุด 
          การไล่ระนาดเอกไม่ว่าจะเป็นการไล่แบบไม้หนักหรือไม้เบาเมื่อไล่เสร็จแล้ว ควรฝึกตีฉากอีกครั้งเพื่อเป็นการปรับมือให้เกิดเสียงที่เท่ากัน การฝึกไล่ระนาดด้วยไม้ ที่มีน้ำหนักเบานั้นมีกระบวนการปฏิบัติหลังการไล่มากกว่าไม้ที่มีน้ำหนักมากกล่าวคือ เมื่อตีฉากเสร็จแล้วควรฝึกการตี
ลักษณะต่างๆต่อเนื่องกันไป เช่น สะบัด สะเดาะ ขยี้ และ รัว เพื่อให้เกิดความชำนาญและเสียงระนาดมีความคมชัดเจนยิ่งขึ้น



1 ความคิดเห็น: