วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง


ความขัดแย้งภายในครอบครอบครัว เป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อใดก็ตาม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
จำเป็นที่จะต้องแก้ไขด้วยการพูดจาตกลงกันให้รู้เรื่อง ชีวิตครอบครัวที่จะมีความสุขนั้นสมาชิกต้องรู้จักวิธี
โต้เถียงกันและแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาในทางที่สร้างสรรค์

ต่อไปนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

1. แสดงความรู้สึกและอารมณ์ที่แท้จริงออกมาอย่างตรงไปตรงมา เช่น เมื่อรู้สึกโกรธ ก็ควร
จะพูดออกมาว่า “โกรธ” ดีกว่าที่จะใช้อารมณ์พูดถากถางเสียดสีหรือเปรียบเปรยอีกฝ่าย

2. เมื่อจะพูดกับอีกฝ่ายถึงปัญหาข้อขัดแย้ง ต้องมีความพร้อมทางร่างกาย อย่างน้อยที่สุดต้อง
ไม่รู้สึกหิว หรือเหนื่อย

3. พูดถึงเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ไม่ใช่ตีตราบุคลิกภาพของอีกฝ่าย เช่น พูดว่า “ฉันไม่
ชอบที่คุณทำอย่างนี้” แทน “คุณนี่แย่มากที่ทำอย่างนี้” เป็นต้น

4. ให้โอกาสอีกฝ่ายชี้แจงเหตุผล จงฟังสิ่งที่อีกฝ่ายชี้แจงอย่างตั้งใจ อย่ารีบด่วนตัดสิน
ความผิด เพราะการมีอคติจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้

5. ย้ำเรื่องราวให้เข้าใจตรงกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าใจความหมายของคำพูดตรงกัน
เมื่อพูดต้องสังเกตท่าทีและความรู้สึกของอีกฝ่าย เพื่อการปรับท่าทีให้เหมาะสม

6. ฝ่ายที่ถูกโกรธจะต้องจับประเด็นปัญหาให้ได้ ว่าถูกโกรธเรื่องอะไร หาปัญหาที่แท้จริง
ค้นหาได้จากการถามอย่างนุ่มนวล ไม่ให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าตกเป็นจำเลย แต่ให้บอกถึงสิ่งที่ต้องการจริงๆ

7. พูดเฉพาะเรื่องปัญหาปัจจุบัน ไม่ควรนำเรื่องเก่าที่ค้างฝังใจมาพูดปนกับปัญหาที่ต้องการ
แก้ไข ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งพูด ควรยับยั้งด้วยการพูดตัดบทว่า คงต้องแก้ปัญหาปัจจุบันนี้ก่อน เรื่องเก่านั้นเอาไว้
พูดทีหลัง

8. เตรียมพร้อมเสมอที่จะประนีประนอม การประนีประนอมต้องมีความตั้งใจจริงที่จะพบกัน
ครึ่งทาง การยอมอีกฝ่ายไปเสียทุกอย่างหรือ “ยอมประนีประนอม” แต่รู้สึกตลอดเวลาว่า “จริงๆแล้ว ฉันเป็น
ฝ่ายถูก” เหล่านี้มิใช่การประนีประนอมที่แท้จริง

9. ขอให้เรื่องจบลงด้วยดี ทุกครั้งที่ขัดแย้งหรือโต้เถียงกัน ขอให้เรื่องจบลงด้วยดี ด้วยการ
เจรจากันให้เข้าใจ ทั้งสองฝ่ายอย่าปล่อยทิ้งค้างไว้ ให้เป็นเรื่องบาดหมางกันทีหลัง

10. จงตั้งใจมั่นที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข ครอบครัวที่สมาชิกตั้งใจมั่น และขวนขวายทุก
วิถีทางที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข ถือเป็นจุดร่วมพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

การแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัว ควรมุ่งประเด็นว่า “ทำอย่างไร พวกเราจึงจะสามารถ
แก้ปัญหานี้ได้” มากกว่า “ใครคือคนที่ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งควรถูกตำหนิมากที่สุด?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น